ตอนที่ 1 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1.ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ
ประเด็นงาน
รายงานผล
1.1 พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ วางแผน ตรวจสอบ ทบทวน จัดทำ และนำพัฒนาหลักสูตรประสานงานวิชาการและนำหลักสูตรไปใช้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
1.2 ปฏิบัติการสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีความพร้อมในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน
และอนาคต
1.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและสร้างนวัตกรรมได้
1.4 นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างและสนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแหล่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1.5 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.6 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ประเด็นงาน
รายงานผล
2.1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษาและบริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ
2.2 บริหารงานบุคคล บริหารงานงบประมาณและบริหารทั่วไปของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.3 ส่งเสริมและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีสมรรถนะเต็มศักยภาพ โดยเน้นทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสม
2.4 บริหารกิจการผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2.5 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ
3.ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
ประเด็นงาน
รายงานผล
3.1 การกำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานเพื่อเป็นแนวทางเชิงรุกในการพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพผู้เรียน
3.2 นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนด
3.3 สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้การพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและสามารถดำรงชีวิตได้เอย่างมีคุณภาพในอนาคต
3.4 สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีมในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาให่เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน
4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย
ประเด็นงาน
รายงานผล
4.1 สร้างและพัฒนาความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง ชุมชนและเครือข่าย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การดูแลช่วยเหลือและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
4.2 จัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษาและชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น
5. การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ประเด็นงาน
รายงานผล
5.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และความรอบรู้ในการบริหารงานให้สูงขึ้น
5.2 มีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา
5.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้รับจากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน
5.4 สร้างและสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ตอนที่ 2 ประเด็นท้าทาย
เรื่อง "สภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) เข้มแข็ง ผ่านการบริหารจัดการด้วยเทคนิค WASAN Model"
1.สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ ๒๕ ไร่ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น ๑,๓๐๘ คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน ๗๐ คน โรงเรียนจึงดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยให้นักเรียนเข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีการกำกับ ดูแล มีสิทธิในการปกครองกันภายในสถานศึกษา โดยการจัดตั้งสภานักเรียนขึ้น เพื่อดำเนินภารกิจการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยภายในโรงเรียน ซึ่งสภานักเรียนของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ขาดความเข้มแข็งในการดำเนินการ ขาดความเป็นเอกภาพและสถานที่ในการจัดการดำเนินงานของสภานักเรียน
ดังนั้น ข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลการดำเนินการสภานักเรียนของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์(ผดุงองครักษ์ประชา)แล้วนั้น จึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพของสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์(ผดุงองครักษ์ประชา)ให้เกิดความเข้มแข็ง เป็นเอกภาพในการดำเนินงานตามระบอบประชาธิปไตยพร้อมทั้งส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)มากยิ่งขึ้นต่อไป
2.วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

๒.๑ การวางแผน (Plan)
๒.๑.๑ ศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานกิจกรรมสภานักเรียนของ สพฐ.
๒.๑.๒ ศึกษาโครงสร้างเดิมของสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)
๒.๑.๓ จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพของสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)
๒.๑.๔ จัดทำคำสั่งมอบหมายงานให้คณะครูรับผิดชอบได้ศึกษาแนวทางการการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณภาพสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)
๒.๒ การลงมือปฏิบัติ (DO)
๒.๒.๑ จัดประชุมคณะครูผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณภาพสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) เพื่อวางแผนงานการดำเนินงานของสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ตามแนวทางการขับเคลื่อนต้นแบบสภานักเรียนของ สพฐ.
๒.๒.๒ ดำเนินการจัดทำระเบียบ ข้อบังคับ หรือธรรมนูญว่าด้วยสภานักเรียน
๒.๒.๓ จัดทำคู่มือการดำเนินงานสภานักเรียน
๒.๒.๔ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งพรรค/กลุ่มเพื่อสมัครเป็นผู้แทนสภานักเรียน
๒.๒.๕ ดำเนินการรับสมัครผู้แทนสภานักเรียน
๒.๒.๖ ผู้สมัครดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
๒.๒.๗ ดำเนินการเลือกตั้งเพื่อหาผู้แทนสภานักเรียน
๒.๒.๘ ดำเนินการนับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
๒.๒.๙ ดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน
๒.๒.๑๐ คณะกรรมการสภานักเรียนดำเนินการเปิดประชุมสมัยวาระการประชุม ๒.๒.๑๑ คณะกรรมการสภานักเรียนดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนงานที่สภานักเรียนฯ กำหนดให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๒.๓ การตรวจสอบ (Chack)
๒.๓.๑ ติดตามการดำเนินงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติงานกิจกรรมสภานักเรียนของ สพฐ.
๒.๓.๒ วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
๒.๔ การปรับปรุง (Act/Action)
๒.๔.๑ การดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)ผ่านการบริหารจัดการด้วยเทคนิค WASAN Model ซึ่งมีการกำกับทุกขั้นตอนด้วยวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อให้เกิดการพัฒนาและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบดังนี้

W : Windom

ภูมิรู้ ภูมิทำ ภูมิฐาน
- สร้างองค์ความรู้ในบทบาทการดำเนินงานให้กับคณะครูที่ปรึกษา คณะกรรมการสภานักเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)
- กำหนดบทบาทให้กับคณะครูที่ปรึกษา คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) อย่างชัดเจน
- สร้างภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ รวมถึงมียูนิฟอร์มของสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ทำให้เกิดความภูมิฐาน น่าเชื่อถือและสง่างามขององค์กร
A : Attiude

เจตคติที่ดี
- สร้างเจตคติในระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง ชัดเจนให้กับนักเรียน
- สร้างเจตคติที่ดีต่อการทำงานแบบทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)
- สร้างความเชื่อมั่นในคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์(ผดุงองครักษ์ประชา)
S : Sufficancy

พอเพียง
- นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) อย่างเป็นระบบ
- หาสถานที่/ห้องเพื่อจัดทำห้องสภานักเรียนโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานศึกษาให้คุ้มค่าตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
A : Achievement

เป้าความสำเร็จ
- กำหนดเป้าหมายความสำเร็จของสภานักเรียนสามารถปฏิบัติตามแนวการปฏิบัติกิจกรรมสภานักเรียนของ สพฐ. ได้ตามหลักเกณฑ์ครบ 100%
- สภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) มีการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง ชัดเจน เป็นเอกภาพ
N : Network

เครือข่ายการศึกษา
- มีการสร้างทีมงานในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพของสภานักเรียนให้ดียิ่งขึ้น
- มีการประชาสัมพันธ์ผลงาน/กิจกรรมของสภานักเรียนให้สาธารณชนรับทราบ

๒.๔.๒ รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
สภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ดำเนินงานตามแผนงานตามแนวทาง การปฏิบัติกิจกรรมสภานักเรียนของ สพฐ. ได้ตามหลักเกณฑ์ครบร้อยละ ๑๐๐
3.2 เชิงคุณภาพ
สภานักเรียนโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ไปสู่ความเข้มแข็งเป็นระบบ สภานักเรียนมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
รายงานผล
นายวะสรรณ สอนนุช
รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา)
Tel.085-229 1821 , 088-590 1822